วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

     การทำบุญเดือนสิบมิได้มีอยู่ที่ภาคใต้แห่งเดียว  หากมีทั่วไปทั่วไปทั้งภูมิภาคในชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้   ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ในภาคอีสาน เรียก       บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก    ภาคเหนือเรียก กินก๋วยสลาก  หรือทานก๋วยสลากและในภาคกลางเรียก สลากภัตรและสลากกระยาสารท ในท้องถิ่นภาคใต้มีประเพณีทำบุญเดือนสิบ   โดยเฉพาะ  'งานเดือนสิบ'  ของนครศรีธรรมราช   เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางที่สุด  ประเพณีดังกล่าวทำต่อเนื่องกันมาช้านานตั้งแต่กาลดึกดำบรรพ์  'ทำบุญเดือนสิบ'   ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเชิญผีบรรพบุรุษ     คือ  ปู่ ย่า ตา ยาย   ที่ตายไปแล้วมากินเลี้ยง   แต่ทุกวันนี้มีประเพณีชิงเปรตในเทศกาลวันสารทเดือนสิบ   โดยทำร้านจัดหฺมฺรับ คือ  สำรับกับข้าว ไปวางไว้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เปรตที่หมายถึงผีบรรพบุรุษ   เมื่อวางแล้วก็มีผู้คนทั้งหลายไปแย่งสิ่งของเหล่านั้น จึงเรียกว่า 'ชิงเปรต' เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันทั่วไปในภาคใต้        โดยเฉพาะในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช        มีการปฏิบัติประเพณีนี้อย่างจริงจังมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน
  • ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ       เป็นประเพณียิ่งใหญ่ มากในจังหวัดนครศรีธรรมราช  จะมีขึ้นในวันแรม  13 ค่ำ  ถึง 15 ค่ำ  เดือนสิบในราวเดือนกันยายน หรือตุลาคมของทุกปี
  • ประเพณีบุญสาารทเดือนสิบเกิดขึ้นด้วยเหตุผลในทำนองเดียวกับชาวอินเดียที่มีพิธี  'เปตพลี'  เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว  ซึ่งจะถูกปล่อยตัวจากยมโลกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานในเมืองมนุษย์ในวันแรม 1  ค่ำ เดือนสิบ  และกลับลงไปอยู่ในนรกดังเดิม  ในวันแรก  15  ค่ำเดือนสิบ       ลูกหลานจึงนำอาหารไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นการอุทิศ    ส่วนกุศลให้แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  โดยทำในวันแรก  ที่ผู้ล่วงลับมาจากยมโลก คือวันแรม  1   ค่ำ เดือนสิบ    เรียกว่า  'วันหฺมฺรับเล็ก'  และวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับยมโลกดังเดิมคือวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ     เรียกว่า        วันหฺมฺรับใหญ่'   (คำว่า  'หฺมฺรับ' มาจากคำว่า  'สำรับ' )
  • งานจะเริ่มครึกครื้นตั้งแต่วันแรก  13  ค่ำ        เดือนสิบ  ซึ่งถือว่าเป็น  'วันจ่าย'  เนื่องจากชาวเมือง         จะหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้จัดหฺมฺรับในวันแรม  14  ค่ำเดือนสิบ   'วันยกหฺมฺรับ'  หรือ  'วันรับตายาย'  จะ           ยกหฺมฺรับไปวัดและนำอาหารและขนม   ส่วนหนึ่งวางไว้ตามที่ต่าง  เช่น  ริมกำแพงวัด  โคนต้นไม้  เป็นต้น  เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วที่ปราศจากญาติ       ระยะหลังมักนิยมสร้างร้านให้ผู้คนนำขนมมาวางรวมกัน   ร้านที่สร้างเรียกว่า 'หลาเปรต'  (หลา คือ  ศาลา)        
  • ที่หลาเปรตจะมีสายสินจน์ผูกอยู่เพื่อให้พระสงฆ์สวดบังสุกุลเพื่อส่งกุศลให้ผู้ล่วงลับ   เมื่อเสร็จพิธีผู้คน จะแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า 'ชิงเปรต'  เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศลแรง
ความเป็นมาของงานเทศกาลเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช
“งานเทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้าราชการ ซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก  จำรูญ(เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร  และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้นโดยได้จัดกำหนดเอางานทำบุญเดือนสิบมาจัดเป็นงานประจำปี  พร้อมทั้งมีการออกร้าน  และมหรสพต่างๆโดยมีระยะเวลาในการจัดงาน ๓ วัน ๓ คืน  จนกระทั่งถึงปี  พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงานจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  ๘๔ (ทุ่งท่าลาด)  ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ไว้อย่างสวยงาม   รวมทั้งได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไปจากเดิมหลายประการ
ความสำคัญของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช
การทำบุญสารทเดือนสิบ  เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์โดยถือเป็นคติว่าปลายเดือนสิบของแต่ละปี  เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล  เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตร  ชื่นชมยินดีในพืชของตน  ประกอบด้วยเชื่อกันว่า  ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต”  จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก  เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลานญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปไห้พ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย พี่น้อง  ลูกหลานที่ล่วงลับไป  โดยการจัดอาหารคาวหวานวางไว้ที่บริเวณวัด  เรียกว่า  “ตั้งเปรต”  ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย  ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น  “การชิงเปรต”  ในเวลาต่อมา
เหตุผลของการจัดหฺมฺรับ
ปลายเดือนสิบอันเป็นระยะเริ่มฤดูฝน  “การอิงศาสภิกษุ”   ด้วยพืชผลที่ยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานสำหรับขบฉันในทันทีที่ขับประเคนนั้น  ชาวเมืองมุ่งหมายจะให้เสบียงเลี้ยงสงฆ์ในฤดูกาลอันยากต่อการบิณฑบาต  และเพื่อมิให้ฉันทาคติบังเกิดแก่ทั้งสองฝ่าย  คือสงฆ์ และศรัทธาถวายพืชผักสดแก่สงฆ์      จึงใช้วิธี  “ สลากภัต” คือจัดใส่ภาชนะตกแต่ง  เรียกว่า  “สำรับ” หรือ “หฺมฺรับ”
“หฺมฺรับ”หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ
การจัดหฺมฺรับ  เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาลเดือนสิบ  เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน  หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว  ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ  หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง  และต้องถึงเวลากลับไปใช้กรรมตามเดิม  ฉะนั้น  บรรดาลูกหลานก็จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้  อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่องแล้วบรรจงจัดลงภาชนะ  ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ให้สวยงาม  เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้บรรพบุรุษ  ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก  ความผูกพัน  และความกตัญญู
การปฎิบัติตามประเพณีสารทเดือนสิบ
ช่องของการทำบุญเดือนสิบ  จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง  “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน  และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน  กล่าวคือ
    • วันหฺมฺรับเล็ก  ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ  เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้รับอนุญาตให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน  ซึ่งลูกหลานจะจัดสำหรับอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด  เป็นการต้อนรับ  บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า  “วันรับตายาย”
    • วันจ่าย ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนครต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ  โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ
    • วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๔ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม  หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคนบ้านไกล้เรือนเคียงไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้
    • วันหฺมฺรับใหญ่ หรือวันหลองหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ  เป็นวันที่นำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่  ทำพิธีบังสุกุล  อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน  และตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศล  ให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้  ขณะเดียวกันก็ทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา
    • การจัดหฺมฺรับ  ส่วนใหญ่การจัดหฺมฺรับ  ส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่เก็บไว้ได้นาน  เพราะสะดวกในการจัดเก็บและรักษา  โดยนิยมจัดในภาชนะกระบุง  กะละมัง  ถัง ถาด วิธีจัดจะใส่ข้าวสารรองชั้นล่าง  ตามด้วยเรื่องปรุงพวกของแห้งที่ใช้ในครัว  ชั้นถัดมาเป็นพวกอาหารแห้ง  หยูกยา  หมากพลู และของใช้จำเป็นประจำวัน  ส่วนหัวใจของหฺมฺรับที่เป็นเอกลักษณ์ขาดไม่ได้มี ๕ อย่าง (บางแห่งมี๖อย่าง) เป็นคติความเชื่อที่ใช้รูปทรง  ลักษณะของขนมเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งจำเป็น  และควรมีสำหรับเปรต  คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมกง(ไข่ปลา) และลาลอยมัน
สัญลักษณ์ของขนมที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ
    • ขนมพอง   เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ  แพ  ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำ  และขี่ข้ามได้
    • ขนมลา      เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณ  เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ  พับ  แผ่ เป็นผืนได้
    • ขนมบ้า     เป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้า  สำหรับใช้เล่นต้อนรับสงกรานต์  เหตุเพราะขนมบ้ามีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า  การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน
    • ขนมดีซำ   เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย  เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย
    • ขนมกง(ไข่ปลา)  เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องปรัดับ  เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะคล้ายกำไล  แหวน
    • ลาลอยมัน    เป็นสัญลักษณ์แทนฟูก  และหมอน ซึ่งมีในบางท้องถิ่น
การตั้งเปรต
  • ในการทำบุญสารทเดือนสิบ  ลูกหลานจะทำขนม  หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัด  ตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป  และริมกำแพงวัด  หรือใต้ต้นไม้  สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ  หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้  หรือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้  พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้  เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม  และอาหารกันที่เรียกว่า  “ชิงเปรต”
  • การชิงเปรต  เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต  โดยมีพระสงฆ์สวดบังสุกุล พอพระชักสายสิญจน์ที่พาดโยงไปยังอาหารที่ตั้งเปรต ลูกหลานก็จะเข้าไปแย่งเอามากิน  ซึ่งของที่แย่งมาได้ถือเป็นของเดนชาน  การได้กินเดนชานจากวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อที่ถือกันว่าเป็นการแสดงความรัก เป็นสิริมงคล และเป็นกุศลสำหรับลูกหลาน
The history about  Tenth  Lunar  Month  Festival
             The primitive people celebrated a  ' thanks offering to spirits' custom on various occasions to beg for security and wealth of abundance.  One such important occasion was a thanks-offering at the start of a new harvest, which later came to be called 'first planting' before extensive planting on larger plots was actually begun.
            When the harvest arrived for the first time  for  the season , another thanks - offering to spirits was made.  What was  being sacrificed of offered to spitits  was  that  first  harvest  called  simply  'first  rice '
            Later  on, when the Indian religions spread their influence to this region, local beliefs were infused with  the new  tenets from  Indiato give rice to the Tenth Lunar Month  or  Sarda   Merit - making  Fair.
            The practice of using what first comes into being or is acquired, as sacrifices to gods or spirits was represented in southern India as the ceremony of boiling a mixture of rice and milk to produce angelic rice or payas rice, which is subsequently offered  to  Ganesha  the elephant  god.  In  ancient Europe,  it was  called  ' Thanks  Giving  Day '
            The tenth month merit-making custom has a long tradition in southern  Thailand.  The Tenth  Month  Fair  of Nakhon  Si Thammarat  which evolved  from  the ago-old  custom  remains the most  wellknown  of  its  type.
            The tenth  month  merit-making  custom  is observed  not only in the South but is common in the other  regions  as  well and known by various names ,  depending  on the prevalent social  and  cultural  environment of the localities.
            The tenth month merit-making custom is also  practiced  among the people  speaking the Tai-Lao  (Sino-Tibetan)  languages outside  Thailand  and among the Khmers,  Mons and Myanmar
            Whatever  name it is known by ,  the essential  message  remains the same:   To  offer first seasonal  batch of farm produce to gods and ancestral sprits as well as  offer food to monks  and brahmins in the hope of securing abundance for the  community for the season and those that follow.
            The custom had been observed continually from the primitive times and was later recorded in palace laws  during the carlierAyutthaya  period and in local literature of the Northeastern and  Northern regions.
            The  South  has a long tradition  of the tenth month merit-making  observance.  The practice is closely tied to the ceremonial provocation  of ancestral sprits or a long line of deceased parents to come to a feast.  Today a       'snatching  demons'  custom is observed during  the tenth month or sarda festival.  Baskets  or trays  of   food  cakes  are laid down  as  food-cakes are laid down as food offering to demons which are taken to be ancestral spites.   Once the basket   are  put  down,  throngs of people rush in and snatch the food,  which practice is therefore called  'snatching demons'  It  is  a common practice throughout  the  South,  particularly at  Nakhon  si n Thammarat where  it has been strictly observed from  the ancient  day  tiff present. 
            At  a  subsequent  time,  a great  annual  festivity  was  held  to celebrate  jointly  the  ' Tenth  Month  Fair '  and  the  sarda custom  since  1923  .  The  scope  of  activity  was  such  that  the tenth  month custom  at  Nakhon  si  Thammarat  has  been  much more  popular  and  talked  about  than  any other  provinces.

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อาราเล่


เนื้อเรื่อง


เนื้อเรื่องตอนต้น

เรื่องเกิดขึ้นในหมู่บ้านเพนกวิน โดย ดร. เซมเบ้ หรือ ดร.โนริมากิ เซมเบ้ ซึ่งเป็นนักประดิษฐ์ ได้ทำการประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์ที่ชื่อว่าโนริมากิ อาราเล่ขึ้นมา แต่ในเวอร์ชันใหม่นั้น ดร.สลัมป์ตั้งใจจะสร้างหุ่นยนต์คนใช้สุดสวย แต่ได้เกิดฟ้าผ่าขึ้น จนทำให้อุปกรณ์ได้รวนขึ้นมา แล้วสร้างหุ่นยนต์เด็กผู้หญิงมาแทน หลังจากนั้น ก็ได้พบกับไข่ในยุดไดโนเสาร์ ซึ่งฟักออกมาแล้วก็ได้เด็กผมสีเขียว (ในเวอร์ชันใหม่เป็นสีทอง) อาราเล่ได้ตั้งชื่อว่า"โนริมากิ กั๊ตซิลล่า"ซึ่งเป็นคำประสมระหว่าง ก็อตซิลล่ากับกาเมล่า โดยเรียกสั้นๆว่า"กั๊ตจัง"


เนื้อเรื่องตอนกลาง

ในช่วงนี้ โนริมากิ เซมเบ้ ได้แต่งงานกับยามาบุกิ นาสิมิ เพราะการพูดขอแต่งงานเล่นๆของเซมเบ้ (แต่ในเวอร์ชันใหม่จะเป็นการซ้อมขอแต่งงานแทน) ซึ่งอาราเล่ได้ขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปลายไปด้วย โดยมีครูคนใหม่ที่หัวคล้ายลูกเกาลัดมาแทน (เพราะครูมิโดริจะสอนเฉพาะชั้นมัธยมต้นเท่านั้น) แล้ววันหนึ่ง อาราเล่ได้เห็นอะไรแปลกๆ จึงใช้ลำแสงดีจ้าใส่สิ่งนั้น ซึ่งก็คือยานอวกาศของครอบครัวซุนที่กำลังจะไปดวงจันทร์นั่นเอง(เวอร์ชันใหม่เตะลูกลักบี้ขึ้นฟ้าแล้วโดนยานแทน) ทำให้ยานอวกาศลำนั้นได้ตกไปที่ข้างๆบ้านของเซมเบ้ จึงทำให้ครอบครัวซุนกลายเป็นเพื่อนบ้านของเซมเบ้ไปโดยปริยาย


เนื้อเรื่องตอนปลาย

เป็นช่วงที่ดร.มาชิริโตะได้สร้างหุ่นยนต์ที่เหมือนอาราเล่ทุกประการ (ยกเว้นเพศ,ความคิดและนิสัย) แล้วใช้ชื่อว่า"คาราเมลแมนหมายเลข4"(ดร.มาชิริโตะเคยสร้างหุ่นยนต์ตระกูล"คาราเมลแมน"มาแล้ว3ตัว) เพื่อกำจัดอาราเล่โดยอ้างว่า อาราเล่จะยึดครองโลก แต่คาราเมลแมนหมายเลข4กลับตกหลุมรักอาราเล่ทำให้สับสน แต่ก็เข้าใจแล้วว่าอาราเล่ไม่ใช่คนร้ายแต่อย่างใด จึงไม่ทำอะไรกับอาราเล่ ทำให้ดร.มาชิริโตะไล่ออกจากบ้าน ทำให้เขาตัดสินใจสร้างบ้านเอง แต่เขาได้เห็นบ้านร้างอยู่หลังหนึ่ง (ความจริงแล้วเป็นบ้านของซุปเปอร์แมนที่ไม่ได้ล็อกกลอนประตู) คาราเมลแมนหมายเลข4จึงนำบ้านหลังนั้นมาวางไว้ใกล้ๆกับบ้านของเซมเบ้ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น โอโบจามะ หลังจากนั้น โอโบจามะก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่อาราเล่อยู่ แล้วเป็นเพื่อนกัน

ตัวละคร

[แก้]ตัวละครหลัก

  • ดร.โนริมากิ เซมเบ้ หรือ ดร. เซมเบ้
    นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ชอบประดิษฐ์ของประหลาดออกมาเสมอ เป็นคนลามก ชอบแอบดูสาวๆสวยๆ ที่กำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า หรือกำลังอาบน้ำ ภายหลังได้แต่งงานกับ อาจารย์มิโดริ

  • โนริมากิ อาราเล่ หรือ อาราเล่
    เป็นตัวละครในการ์ตูนเรื่อง ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ เป็นหุ่นยนต์ที่ดร. เซมเบ้ สร้างขึ้นมา ให้เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 13 ปีอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแพนกวิน มีนิสัยร่าเริง และมีพลังอย่างมหาศาล ชื่ออาราเล่ตั้งมาจากชื่อขนมญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายขนมเซมเบ้แต่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งเป็นนัยว่าเป็นน้องสาวของ ดร.เซมเบ้ (เพราะดร.เซมเบ้อ้างว่าเป็นน้องสาวของตน จึงต้องตั้งชื่อนี้เพื่อไม่ให้ชาวหมู่บ้านเพนกวินรู้ความลับ) ส่วนคำว่า โนริมากิ แปลว่า "ห่อด้วยสาหร่าย"

  • โนริมากิ กั๊ตชิร่า หรือ กั๊ตจัง
    ตัวละครในการ์ตูนเรื่อง ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ เป็นมนุษย์ต่างดาว มีปีก สามารถบินได้ อาศัยอยู่กับอาราเล่ในหมู่บ้านเพนกวิ้น เป็นเด็กที่ร่าเริงเหมือนอาราเล่ และสามารถใช้ไฟฟ้าช๊อตใส่ศัตรูได้ ความสามารถพิเศษนอกจากปล่อยกระแสไฟได้แล้ว กินสิ่งของได้ทุกอย่าง ยกเว้น วัตถุที่ทำจากยาง

  • โอโบจามะ                                                                                                                            เป็นหุ่นยนต์ที่ดร. มาชิริโตะ สร้างขึ้นมา เพื่อกำจัดอาราเล่ ดร.มาชิริโตะสร้างหุ่นยนต์เพื่อกำจัดอาราเล่โดยอ้างว่า อาราเล่จะยึดครองโลก แต่โอโบจามะกลับตกหลุมรักอาราเล่ตั้งแต่แรกพบทำให้สับสน แต่ก็เข้าใจแล้วว่าอาราเล่ไม่ใช่คนร้ายแต่อย่างใด จึงไม่ทำอะไรกับอาราเล่ ทำให้ดร.มาชิริโตะไล่ออกจากบ้าน ทำให้เขาตัดสินใจมาสร้างบ้านเอง แต่เขาได้เห็นบ้านร้างอยู่หลังหนึ่งปัจจุบันโอโบจามะเอาบ้านคืนไปแล้วความจริงแล้วเป็นบ้านของซุปเปอร์แมนที่ไม่ได้ล็อกกลอนประตู ปัจจุบัน โอโบจามะ สร้างบ้านเป็นของตัวเองแล้วมาโอโบจามะนำบ้านหลังนั้นมาวางไว้ใกล้ๆกับบ้านของดร. เซมเบ้ กับอาราเล่ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น โอโบจามะ หลังจากนั้น โอโบจามะก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่อาราเล่อยู่ มีเพื่อนมากมาย ปัจจุบันยังชอบอาราเล่อยู่ มักจะเวะเวียนไปบ้าน ดร. เซมเบ้ อยู่บ่อยๆ

[แก้]ตัวละครรอง

  • คิมิโดริ อากาเนะ เพื่อนสนิทอาราเล่ ชอบขับมอเตอร์ไซต์ เร็วมาก ตำรวจจะจับเพราะขับรถเร็วโดยกำหนดแต่ก็จับไม่ได้หนีได้ตลอด ไม่ชอบเรียนขีเกียจมักจะแกล้งพึสึเกะอยู่บ่อยๆ อากาเนะหน้าตาคล้ายคุณครูมิโดริ แต่ต้องติดไฝที่ปากและทำสีผมสีเขียวอ่อน จะเหมือนมากอากาเนะกับอาราเล่เคยแกล้ง ดร.โนริมากิ เซมเบ้มาแล้ว มักจะเวะเวียนไปบ้าน ดร. เซมเบ้ อยู่บ่อยๆ เป็นคนที่ซุน ซุกซุ่นแอบชอบ ซิ่งอากาเนะก็ชอบซุน ซุกซุ่น
  • โซระมาเมะ ทาโร่ เพื่อนสนิทอาราเล่ พี่ชายของพีสึเกะ อาราเล่ชอบเรียกทาโร่ ว่า ทาโร่ซัง ทาโร่แอบชอบซุน เหมยหลิง มักจะเวะเวียนไปบ้าน ดร. เซมเบ้ อยู่บ่อยๆ
  • โซระมาเมะ พีสึเกะ เพื่อนสนิทอาราเล่ น้องชายของทาโร่ มักจะเวะเวียนไปบ้าน ดร. เซมเบ้ อยู่บ่อยๆ
  • ซุน ซุกซุ่น ซุน ซุกซุ่น ถ้ามือสัมผัสโดนตัวผู้หญิงเมื่อไรจะกลายเป็นเสือ ซุน ซุกซุ่นแอบชอบอากาเนะ
  • ซุน เหมยหลิง สาวหมวยของ พี่สาว ซุน ซุกซุ่น มีพลังจิตจีบนิ้วของที่พังสามารถเลื่อนไปมา และชอบขับยานเล่นอยู่บ่อยๆ เป็นคนที่ทาโร่แอบชอบ

[แก้]ตัวละครอื่นๆ

  • คิมิโดริ อาโออิ พี่สาวของคิมิโดริ อากาเนะที่เปิดร้านกาแฟอยู่ในหมู่บ้านเพนกวิน เป็นคนขับรถที่ทุกคนหวาดผวา เพราะชอบขับรถเร็ว และชนสิ่งของในหมู่บ้านกระจัดกระจายอยู่เป็นประจำ
  • ซาราดะ คิโนโกะ สาวน้อยคิดว่าตัวเองสวยมาก มักจะเถียงอยู่กับอาราเล่เป็นประจำ คิโนะโกะชอบขี่จักยาน และสวมแว่นกันแดด
  • ซุปเปอร์แมน ซุปเปอร์ธรรมมะคอยช่วยเหลือทุกคน ชอบไปแปลงร่างในตู้โทรศัพท์ ถูกโอโบจามะเอาบ้านไปเพราะนึกเป็นบ้านร้าง
  • ราชานิโคจัง มนุษย์ต่างดาวสีเขียวที่จานบินตกที่หมู่บ้านเพนกวิน แล้วพยายามเก็บเงินเพื่อสร้างจานบินกลับไปที่ดาวตัวเอง มีลักษณะเหมือนมีก้นอยู่บนหัว มีลูกน้องเป็นมนุษย์ต่างดาวสีเหลือง มักจะถูกอาราเล่นงานเป็นประจำ
  • ดร.มาชิริโตะ ดร.มาชิริโตะ ร้ายกาจมาก นักวิทยาศาสตร์ ชอบประดิษฐ์หุ่นยนต์มากมายเพื่อกำจัดอาราเล่ มักจะถูกอาราเล่นงานเป็นประจำ
  • คุณครูหัวเกาลัด มาเป็นคุณครูแทนอาจารย์มิโดริ คุณครูหัวเกาลัดหัวโตมาก
  • สป็อค นักเรียนแลกเปลี่ยนจากดาววัลแคน จากเรื่องสตาร์ เทรค
  • ป้าฮารุ (ป้าร้านขายบุหรี่)